แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแขม

ยุทธศาสตร์การพัฒนา
คณะกรรมการพัฒนาตำบลร่วมกับประชาคมท้องถิ่น ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ รวมทั้งองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้กำหนดยุทธศาสตร์ของตำบล 4 ด้าน โดยมีรายละเอียดดังนี้
1) ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.1) ความทั่วถึงของถนนกับความจำเป็นในการใช้สัญจรไปมา
1.2) การดูแล บำรุง รักษาถนนในเขตตำบล
1.3) ความสะดวก ความปลอดภัยของถนนในการสัญจรไปมา
1.4) การให้บริการน้ำดื่ม น้ำใช้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่
1.5) ความเพียงพอปริมาณน้ำดื่ม น้ำใช้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่
1.6) ความสะอาดปลอดภัยของน้ำดื่ม น้ำใช้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่
1.7) การจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรให้เพียงพอในการทำการเกษตรในเขตพื้นที่
1.8) มีการตรวจสภาพน้ำเพื่อการเกษตร เช่น ปริมาณออกซิเจนเหมาะสม อุณหภูมิเหมาะสมและไม่มีสารพิษปนเปื้อน เป็นต้น
1.9) ความส่องสว่างบริเวณถนนสายหลัก
1.10) ความส่องสว่างบริเวณถนนสายรอง
1.11) ความส่องสว่างบริเวณทางแยก
1.12) ความส่องสว่างบริเวณวงเวียนที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร
1.13) ความส่องสว่างบริเวณสวนสาธารณะ
1.14) ความส่องสว่างบริเวณตลาดและลานตลาด
1.15) ความส่องสว่างบริเวณสนามเด็กเล่น
1.16) ความส่องสว่างบริเวณลานจอดรถสวนสาธารณะ
1.17) ความส่องสว่างบริเวณสนามกีฬาชุมชน
1.18) ความส่องสว่างบริเวณสะพาน
1.19) การซ่อมบำรุงหรือทำความสะอาดอุปกรณ์ให้บริการไฟฟ้า

2) ด้านการพัฒนาคนและสังคมและคุณภาพชีวิต
2.1) การส่งเสริมและการพัฒนากลุ่มสตรี
2.2) การจัดตั้งปรับปรุงและการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
2.3) การส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนซึ่งเป็นผู้พิการและด้อยโอกาส
2.4) การส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนในชุมชนร่วมกลุ่มกันจัดทำกิจกรรมในทางสร้างสรรค์กิจกรรมการพัฒนาต่างๆ เช่น ด้านศาสนา ด้านกีฬาและการออกกำลังกาย เป็นต้น
2.5) การให้ความสำคัญต่อการดูแลเอาใจใส่และช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ด้อยโอกาสในเขตพื้นที่
2.6) การให้ความสำคัญต่อการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ในพื้นที่
2.7) การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโภชนาการแก่ประชาชน
2.8) การเฝ้าระวังทางโภชนาการและแก้ไขปัญหาการขาดสารอาหารและโรคอ้วนให้เด็กอายุ ระหว่าง ๐ – ๖ ปี
2.9) การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อสำคัญในเขตตำบล
2.10) การให้ความรู้และคำแนะนำในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและดูแลสุขภาพหญิงมีครรภ์แม่และเด็ก
2.11) การเผยแพร่ให้ความรู้เรื่องอนามัยสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชน
2.12) การดูแลรักษา อนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรม ศาสนาและการส่งเสริมสนับสนุนวิถีชีวิต ภูมิปัญญาและประเพณีที่ดีงามของท้องถิ่น
2.13) การส่งเสริมจริยธรรม คุณธรรมและศิลปะอันดีของครอบครัวและชุมชน
3) ด้านการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและชุมชนเข้มแข็ง
3.1) การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติในเขตพื้นที่
3.2) การให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกับประชาชน
3.3) การส่งเสริมสนับสนุนการป้องกันปัญหายาเสพติดและลดอัตราการติดยาเสพติดในเยาวชนและประชาชน
3.4) การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นไปตามศักยภาพของชุมชน
3.5) การเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ พัฒนาและได้รับประโยชน์จากแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ในพื้นที่
3.6) การส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต
3.7) การส่งเสริมการลดปริมาณขยะมูลฝอยและการคัดแยกขยะเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนนำกลับมาใช้ประโยชน์
3.8) การรณรงค์การปลูกต้นไม้หรือการดูแลรักษาต้นไม้ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตตำบล
3.9) การให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.10) การรณรงค์ให้ประชาชนในชุมชนเกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการป้องกันทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3.11) การส่งเสริมและสนับสนุนให้ทำการเกษตรปลอดสารพิษ
4) ด้านการพัฒนาการบริหารจัดการและการบริการประชาชน
4.1) การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
4.2) การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
4.3) การพัฒนาประชาสัมพันธ์องค์กร
4.4) การพัฒนาการให้บริการประชาชน

เป้าประสงค์
1) การได้รับบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานให้มีความสะดวกและรวดเร็ว
2) ประชาชนมีความรู้และบำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม
3) ประชาชนมีศักยภาพมีรายได้เพียงพอสามารถพึ่งตนเองได้
4) มลภาวะและสิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษทำให้ชุมชนน่าอยู่อย่างสงบสุข
5) การบริหารจัดการภาครัฐที่ดีและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
6) การส่งเสริมความแข้มแข็งของชุม การสังคมสงเคราะห์แก่ประชาชนรวมทั้งการสร้างสังคมความน่าอยู่
ตัวชี้วัด
1) ประชาชนในเขตตำบลมีแหล่งน้ำในการอุปโภคเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 5
2) ในเขตตำบลมีโครงสร้างพื้นฐานให้ประชาชนได้ใช้บริการร้อยละ 80
3) ประชาชนมีความรู้มากขึ้นร้อยละ 90 และศิลปวัฒนธรรมอันดียังคงอยู่
4) ประชาชนในเขตตำบลร้อยละ 80 มีความรู้และมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยว ศาสนา–วัฒนธรรมประเพณีและกีฬา
5) ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นร้อยละ 10 
6) ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 5 และพึ่งตนเองได้มากขึ้น
7) ชุมชนในเขตตำบลร้อยละ 60 น่าอยู่อย่างสงบสุข
8) การบริการจัดการของตำบลมีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสูงร้อยละ 60 
9) การบริการจัดการของตำบลมีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสูงร้อยละ 60 
ค่าเป้าหมาย
1) ด้านการได้รับบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานให้มีความสะดวกและรวดเร็ว
2) ประชาชนมีความรู้และบำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม
3) ประชาชนมีศักยภาพมีรายได้เพียงพอสามารถพึ่งตนเองได้
4) มลภาวะและสิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษทำให้ชุมชนน่าอยู่อย่างสงบสุข
5) การบริหารจัดการภาครัฐที่ดีและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
กลยุทธ์
1) พัฒนาขุดลอกคูคลองและจัดสร้างแหล่งน้ำสงวนและเก็บกักน้ำเพื่อการเกษตร เพื่อการอุปโภคและบริโภค รวมทั้งวางโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้ง
2) ส่งเสริมและพัฒนาระบบการศึกษา บุคลากรด้านการศึกษา ครู นักเรียน ให้เป็นผู้มีคุณภาพมีทักษะและศักยภาพตามมาตรฐานสากลรองรับประชาคมอาเซียน
3) พัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืชและเมล็ดพันธุ์พืชที่ดีมีคุณภาพ ส่งเสริมให้เกิดเกษตรอุตสาหกรรมลดต้นทุน เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร ปรับปรุงผลิตผลให้มีคุณภาพ ส่งเสริมสนับสนุนการถนอมและแปรรูปสินค้าทางการเกษตร ส่งเสริมให้มีการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ เพื่อการบริโภคเพื่อจำหน่วยและเพื่อการอนุรักษ์และเพิ่มช่องทางตลาด
4) ส่งเสริมชุมชนให้เข้มแข็ง พัฒนาบทบาทของผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้านและชุมชนให้พัฒนาบทบาทและคุณภาพชีวิตของเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ประชาชนและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน พัฒนาคุณภาพและศักยภาพตามความสามารถของแรงงานในท้องถิ่น
5) ป้องกันและแก้ไขปัญหาการเสพ การผลิตและการจำหน่ายยาเสพติดในทุกระดับ
6) ดำเนินการโครงการ เพื่อให้บริการประชาชนและรับทราบปัญหาอุปสรรคและความต้องการของประชาชนในพื้นที่พัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม) ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยของประชาชนในทุกระดับ ให้มีสุขภาพแข็งแรง
7) ส่งเสริมสนับสนุนการวางระบบการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานให้สอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการของประชาชน ก่อสร้าง ปรับปรุงเส้นทางการคมนาคมอย่างทั่วถึง
8) พัฒนาฟื้นฟูและส่งเสริมกิจกรรมด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของชุมชนท้องถิ่น โดยการอนุรักษ์สืบสานต่อและเชื่อมโยงสู่กิจกรรมการท่องเที่ยว
9) ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงาน นำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารงานภายในองค์กร สนับสนุนบุคลากรในสังกัดให้ได้รับการศึกษา อบรม การทำวิจัย เพิ่มพูนความรู้
10) เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ
11) ส่งเสริม สนับสนุนและร่วมมือกับส่วนราชการ หน่วยงานต่างๆ ในการเตรียมความพร้อมในการป้องกันภัยและการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดในเขตชุมชนและสถานที่สำคัญ สนับสนุนการฝึกอบรมจัดตั้งและอบรมฟื้นฟูตำรวจบ้านและอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) และดูแลรักษาความปลอดภัยและการจราจร
12) พัฒนาฟื้นฟูและอนุรักษ์ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำ ลุ่มน้ำลำคลองและป่าไม้ให้มีความอุดมสมบูรณ์ สร้างจิตสำนึกเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษและปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชน จัดทำระบบกำจัดขยะรวมและจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
จุดยืนทางยุทธศาสตร์
1) การพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่มีความเข้มแข็ง โดยได้รับบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนและเศรษฐกิจ
2) การพัฒนาระบบการศึกษาและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
3) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนและความเข้มแข็งของชุมชนในการพึ่งตนเอง
4) การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและมลภาวะสิ่งแวดล้อมที่มีอย่างยั่งยืน
5) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่ดีและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
แผนงาน
1) แผนงานบริหารงานงานทั่วไป
2) แผนงานการรักษาความสงบภายใน
3) แผนงานการศึกษา
4) แผนงานสาธารณสุข
5) แผนงานสังคมสงเคราะห์
6) แผนงานเคหะและชุมชน
7) แผนงานสร้างความเข้มแข็ง
8) แผนงานการศาสนาและวัฒนธรรมและนันทนาการ
9) แผนงานการการเกษตร
10) แผนงานงบกลาง